ความรู้พื้นฐานการทดสอบ
เมื่อผู้เข้ารับการอบรมเรียนจบบทเรียนที่ 1 แล้ว สามารถบอกความหมายของการทดสอบ จำแนกประเภทของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์ตัวชี้วัด การสร้างแบบทดสอบ และตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ ได้
สาระสำคัญ
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านพุทธิพิสัย ใช้วัดความรู้เชิงวิชาการ มักใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เน้นการวัดความรู้ความสามารถจากการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
แบบทดสอบสามารถจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบตามเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนก ได้แก่ การจำแนกตามผู้สร้างแบบทดสอบ การจำแนกตามจุดมุ่งหมายในการใช้ การจำแนกตามการแปลผล การจำแนกตามเนื้อหาวิชา และการจำแนกตามการตรวจให้คะแนน
ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีหลายรูปแบบ เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบ ข้อสอบแบบถูกผิด ข้อสอบแบบจับคู่ ข้อสอบแบบเติมคำ และข้อสอบแบบความเรียง การเขียนข้อสอบรูปแบบต่าง ๆ มีหลักการ จุดเด่น จุดด้อยต่างกัน ผู้สอนจึงควรเลือกรูปแบบของแบบทดสอบให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายในการวัดและประเมิน สิ่งที่มุ่งวัดผู้เข้าสอบ และบริบทในการจัดสอบ
สำหรับบทเรียนที่ 1 แบ่งออกเป็น 6 หัวข้อ รายละเอีบดดังตาราง
|
ประเด็น |
เวลา (นาที) |
จำนวนวิดีโอ |
1.1 |
ความหมายของการทดสอบ |
03.00 |
1 |
1.2 |
ประเภทของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
09.00 |
1 |
1.3 |
การวิเคราะห์หลักสูตร |
14.00 |
6 |
1.4 |
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสำหรับการทดสอบ |
06.00 |
1 |
1.5 |
การสร้างแบบทดสอบ |
19.00 |
3 |
1.6 |
การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ |
04.00 |
1 |
Includes
Includes